การป้องกันการทุจริต
หน้าแรก   /   การป้องกันการทุจริต  /   การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓
จำนวนผู้เข้าชม  :   4953

 

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปีงบประมาณ 2563

ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา

 

1.วัตถุประสงค์การประเมินความเสี่ยงการทุจริต

                    มาตรการป้องกันการทุจริตสามารถจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้ ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต การออกแบบและการปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการทุจริต ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตให้แก่บุคลากรขององค์กรถือเป็นการป้องกันการเกิดการทุจริตในองค์กร ทั้งนี้ การนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมาใช้ในองค์กรจะช่วยให้เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า การดำเนินการขององค์กรจะไม่มีการทุจริตหรือในกรณีที่พบกับการทุจริตที่ไม่คาดคิดโอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่น หรือหากเกิดความเสียหายขึ้นก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมาใช้เพราะได้มีการเตรียมการป้องกันล่วงหน้าไว้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำ ซึ่งไม่ใช่การเพิ่มภาระงานแต่อย่างใด

วัตถุประสงค์หลักของการประเมินความเสี่ยงการทุจริต เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการระบบ หรือแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

2.  ขอบเขตประเมินความเสี่ยงการทุจริต

                   องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จะแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

                   2.1 ความเสี่ยงการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต (เฉพาะหน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนอนุมัติ หรืออนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558)

                   2.2 ความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่

                   2.3 ความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้จ่ายงบประมาณและการบริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐ

         

           
   
 
 
   
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.  วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยง

                   เป็นการวิเคราะห์โดยเริ่มจากการระบุความเสี่ยงจากกระบวนงานต่าง ๆ อธิบายรูปแบบพฤติการณ์ เหตุการณ์ความเสี่ยงต่อการทุจริต การวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบกับระดับความจำเป็นของการเฝ้าระวัง และการกำหนดมาตรการ/กิจกรรม/แนวทาง ในการป้องกันความเสี่ยงของการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตในองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาที่มีประสิทธิภาพ

 

3.1 การระบุความเสี่ยง…

- 2 –

 

                   3.1 การระบุความเสี่ยง (Risk ldentification)

                         ประเมินความเสี่ยงการทุจริต ด้าน

                                1. ด้านความเสี่ยงการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต

                                2. ด้านความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่

                          R  3. ด้านความเสี่ยงการทุจริตในความโปร่งใสของการใช้จ่ายงบประมาณและบริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐ

                       

ตารางที่ 1 ตารางระบุความเสี่ยง (Know Factor และ Unknow Factor)

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

ประเภทความเสี่ยงการทุจริต

Know Factor

(เคยเกิดขึ้นแล้ว)

UnKnow Factor

(ยังไม่เคยเกิดขึ้น)

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

-การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

 

P

หมายเหตุ :   Known Factor - ความเสี่ยงที่เคยเกิด คาดว่าจะมีโอกาสเกิดซ้ำสูง หรือมีประวัติอยู่แล้ว

               Unknown Factor– ความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดหรือไม่มีประวัติมาก่อน ปัจจัยความเสี่ยงที่มาจาก

                                         การพยากรณ์ประมาณการล่วงหน้าในอนาคต

                                     

                   3.2การวิเคราะห์สถานะความเสี่ยง

                         วิเคราะห์เพื่อแสดงสถานะความเสี่ยงการทุจริตของแต่ละโอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต แบ่งออกเป็น

                         สถานะสีเขียว    :   ความเสี่ยงระดับต่ำ

                         สถานะสีเหลือง  :   ความเสี่ยงระดับปานกลาง และสามารถใช้ความรอบคอบระมัดระวังในระหว่างปฏิบัติงานตามปกติควบคุมดูแลได้

                         สถานะสีส้ม      :   ความเสี่ยงระดับสูง เป็นกระบวนงานที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน หลายหน่วยงานภายในองค์กรมีหลายขั้นตอน จนยากต่อการควบคุมหรือไม่มีอำนาจควบคุมข้ามหน่วยงานตามหน้าที่ปกติ

                         สถานะสีแดง     :   ความเสี่ยงระดับสูง เป็นกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก คนที่ไม่รู้จักไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน ไม่สามารถกำกับติดตามได้อย่างใกล้ชิดหรืออย่างสม่ำเสมอ

                                     

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์สถานะความเสี่ยง

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

เขียว

เหลือง

ส้ม

แดง

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

 

 

P

 

 

                  

 

 

4. เมทริกส์...

- 3 -

 

                   4. เมทริกส์ระดับความเสี่ยง(Risk level matrix)

                       ค่าความเสี่ยงรวม  คิดจากระดับ ความจำเป็นของการเฝ้าระวัง x ระดับความรุนแรงของผลกระทบ โดยมีเกณฑ์ ดังนี้

                       4.1  ระดับความจำเป็นของการเฝ้าระวัง มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้

                              - ถ้าเป็นกิจกรรมหรือขั้นตอนหลักที่สำคัญของกระบวนงานนั้น ๆ (MUST) หมายถึง มีความจำเป็นสูงของการเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริตที่ต้องทำการป้องกันไม่ดำเนินการไม่ได้ ค่าของ MUST คือ ค่าที่อยู่ในระดับ 3 หรือ 2

                              - ถ้าเป็นกิจกรรมหรือขั้นตอนรองของกระบวนงานนั้น ๆ (SHOULD) หมายถึง มีความจำเป็นต่ำในการเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริต ค่าของ SHOULD คือ ค่าที่อยู่ในระดับ 1

 

ตารางที่ 3  เมทริกส์ระดับความเสี่ยง

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

กิจกรรมหรือขั้นตอนหลัก

MUST

กิจกรรมหรือขั้นตอนของ

SHOULD

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

 

2

 

                      

                       4.2   ระดับความรุนแรงของผลกระทบ

                              - กิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นเกี่ยวข้องกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholders รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล พันธมิตร ภาคีเครือข่าย ค่าอยู่ที่ 2 หรือ 3

                              - กิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางการเงิน รายได้ลด รายจ่ายเพิ่ม Financial ค่าอยู่ที่ 2 หรือ 3

                              - กิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ กลุ่มเป้าหมาย Customer/User ค่าอยู่ที่ 2 หรือ 3

                              - กิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นผลกระทบต่อกระบวนงานภายใน Internal Process หรือกระทบด้านการเรียนรู้ องค์ความรู้ Learning & Growth ค่าอยู่ที่ 1 หรือ 2

 

ตารางที่ 4 ระดับความรุนแรงของผลกระทบ

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

ระดับความรุนแรงของผลกระทบ

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

1

 

              

 

ตารางที่ 5...

 

 

- 4 –

 

ตารางที่ 5  สรุปตารางเมทริกส์ระดับความเสี่ยง

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

ระดับความจำเป็นของการเฝ้าระวัง

ระดับความรุนแรงของผลกระทบ

ค่าความเสี่ยงรวม

ความจำเป็น X

ความรุนแรง

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

1

 

1

 

2

                                     

                   5. การประเมินการควบคุมความเสี่ยง

                   เกณฑ์คุณภาพการจัดการ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

                   ดี  :จัดการได้ทันที  ทุกครั้งที่เกิดความเสี่ยง ไม่กระทบถึงผู้ใช้บริการ/ผู้รับมอบผลงาน องค์กรไม่มีผลเสียทางการเงิน ไม่มีรายจ่ายเพิ่ม

                   พอใช้  :  จัดการได้โดยส่วนใหญ่ มีบางครั้งยังจัดการไม่ได้  กระทบถึงผู้ใช้บริการ/ผู้รับมอบผลงาน องค์กร แต่ยอมรับได้ มีความเข้าใจ

                   อ่อน  :จัดการไม่ได้  หรือได้เพียงส่วนน้อย  การจัดการเพิ่มเกิดจากรายจ่าย มีผลกระทบถึงผู้ใช้บริการ/ผู้รับมอบผลงานและยอมรับไม่ได้ ไม่มีความเข้าใจ

 

               ตารางที่ 6  การประเมินการควบคุมความเสี่ยง

โอกาส/ความเสี่ยงการทุจริต

คุณภาพการจัดการ

ค่าประเมินการควบคุมความเสี่ยงการทุจริต

ค่าความเสี่ยง

ระดับต่ำ

ค่าความเสี่ยงระดับปานกลาง

ค่าความเสี่ยงระดับสูง

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

 

 

ดี

 

 

 

 

P

 

 

 

               5. แผนบริหารความเสี่ยง

                   องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ 2563

 

               ตารางที่ 7  แผนบริหารความเสี่ยง

รูปแบบ พฤติการณ์ความเสี่ยงการทุจริต

มาตรการดำเนินการบริหารความเสี่ยง

ระยะเวลา

ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว

- การนำรถยนต์ของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว

 

- กำหนดข้อพึงปฏิบัติเพื่อเป็นกรอบสร้างพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติไม่นำทรัพย์สินของทางราชการทุกประเภทไปใช้ส่วนตัวเช่น มีแบบใบอนุญาตการใช้รถยนต์ส่วนกลาง (แบบ 3) และแบบรายงานการใช้รถยนต์ (แบบ 4)

ต.ค.62– ก.ย. 63

ทุกส่วนราชการในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา

- กำหนด...

- 5 –

 

รูปแบบ พฤติการณ์ความเสี่ยงการทุจริต

มาตรการดำเนินการบริหารความเสี่ยง

ระยะเวลา

ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

 

- กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาได้ควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

- กำหนดมาตรการให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ทุกระดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใส และไม่กระทำการใด ๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนการจัดทำคู่มือการการบริหารจัดการเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติงานและการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาและ การป้องกันการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย