อำนาจหน้าที่
หน้าแรก   /   อำนาจหน้าที่
จำนวนผู้เข้าชม  :   17379

ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ โดยคำนึงว่าภารกิจที่จะดาเนินการตามอำนาจหน้าที่นั้น ควรสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารของผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่

1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกทางน้า มาตรา 17(13)
  2. การสร้างและบารุงรักษาทางบกและทางน้าที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17(16)
  3. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร มาตรา 17(21)
  4. การสาธารณูปการ มาตรา 45(6) ประกอบ มาตรา 31 (3)
  5. การจัดให้มีและบำรุงทางนํ้าและทางบก มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(5)
  6. การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้า มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(9)
  7. การจัดให้นํ้าสะอาดหรือการประปา มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(11)
  8. การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(11)
  9. การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟูาหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(12)

1.2 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. การจัดการศึกษา มาตรา 17(6)
  2. การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 17(19)
  3. การป้องกันโรค การบาบัดโรค และการจัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(4)
  4. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส
  5. การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(7)
  6. การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ มาตรา45 (6) ประกอบมาตรา 31(10)
  7. การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน มาตรา 45 (6) ประกอบมาตรา 31(13)
  8. การจัดให้มีและบำรุงสถานที่สาหรับการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(14)
  9. การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(15)

1.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 17 (7)
  2. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 17 (22)
  3. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด มาตรา 17 (23)
  4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตสภาตาบล มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(1)

1.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. การจัดทาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 45 (2) และมาตรา 17(1)
  2. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง มาตรา 17(17)
  3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว มาตรา 17(4)
  4. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทากิจการไม่ว่าจะดาเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ มาตรา 17 (15)

1.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

  1. การคุ้มครอง ดูแลและบารุงรักษาปุาไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตรา 45(7) และมาตรา 17(5)
  2. การจัดตั้งและดูแลระบบบาบัดน้าเสียรวม มาตรา 17 (10)
  3. การกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม มาตรา 17 (11)
  4. การกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 45 (6) ประกอบมาตรา 31(8)
  5. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)

1.6 ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

  1. การจัดการศึกษา มาตรา 17 (6)
  2. บารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 45(7 ทวิ)
  3. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17(18)
  4. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ มาตรา 17(20)
  5. การศึกษา การทานุบารุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม มาตรา 45 (6) ประกอบ มาตรา 31(2)

1.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

  1. สนับสนุนสภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นมาตรา 45 (3) และมาตรา 17(2)
  2. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 17(25)
  3. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 45(4) และมาตรา 17(3)
  4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 45(5) และมาตรา 17(4)
  5. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17(26)
  6. การดาเนินการการเลือกตั้ง
  7. การรักษาความสะอาด และความปลอดภัยสถานที่ราชการ
นับตั้งแต่ปี 2540 อบจ. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบอำนาจหน้าที่ไปจากเดิมโดยจะมีหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ซึ่งเน้นการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ในระดับต่ำกว่าภายในจังหวัด
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540  มาตรา 45 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไว้ดังนี้
1.   ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
2.   จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
3.   สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
4.   ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
5.   แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
6.  อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498  เฉพาะในเขตสภาตำบล
7.  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ อบจ. จัดทำตามที่กำหนดใน    กฎกระทรวง
9. จัดทำกิจการอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. เช่น พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
 
นอกจากนี้ อบจ. อาจจัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือ อบจ. อื่นนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากองค์กรนั้นๆ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มอบให้ อบจ. ปฏิบัติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
อำนาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่าย   นิติบัญญัติ โดยการอนุมัติข้อบัญญัติต่างๆ เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะดำเนินการ

ภารกิจหลัก ตามแผนนี้หมายถึง ภารกิจที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 รวมทั้งภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิบัติ และได้วิเคราะห์ภารกิจตามเทคนิค Swot Analysis แล้ว มีสถานภาพการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก สมควรสนับสนุนและขยายการพัฒนาในลาดับความสาคัญแรก โดยกาหนดภารกิจหลัก ดังนี้

  1. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างทางสาธารณะ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การก่อสร้างและปรับปรุงทางระบายน้า การจัดให้มีและบารุงการไฟฟ้า การจัดระบบการประปาหมู่บ้าน และประปาขนาดใหญ่
  2. การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่การท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเน้นในเรื่องการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว และการบริหารจัดการที่ดี
  3. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นความร่วมมือของท้องถิ่นในการจัดระบบกาจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล การบาบัดน้าเสีย การพัฒนาสวนสาธารณะ และภูมิทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งการสารวจ ศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  4. การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชน โดยเน้นหนักให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้หลักศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมที่มีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม
  5. การพัฒนาการเมืองและการบริหาร โดยเน้นหนักด้านการจัดโครงสร้างส่วนราชการ เพื่อรองรับภารกิจตามอานาจหน้าที่ รวมทั้งภารกิจ งบประมาณและบุคลากรที่จะได้รับการถ่ายโอนจากรัฐบาลตามแผนปฏิบัติการกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกาหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิบัติ การพัฒนาระบบราชการไปสู่ธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การพัฒนาประชาชนให้ตระหนักในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงการมีส่วนรวมรับรู้และร่วมเสนอแนะ ตัดสินใจ
  6. การศึกษานอกระบบการศึกษาทางเลือก โดยเน้นเรื่องการจัดให้มีห้องสมุดประชาชนการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ และภารกิจด้านการศึกษาอบรม ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจรอง ตามแผนนี้ หมายถึง ภารกิจที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความสาคัญเป็นลำดับรอง รวมทั้งภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการกาหนด ขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกาหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถเลือกทาได้โดยอิสระ โดยกาหนดภารกิจรองด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและรายได้โดยเน้นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการรวมกลุ่มอาชีพขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง
  2. การรักษาความสงบเรียบร้อย การปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยเน้นหนักด้านการสร้างระบบปูองกันภัยที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจาทุกปี หรือเกิดบ่อย เช่น อุทกภัย วาตภัย ปัญหาความขัดแย้ง และการก่อเหตุวุ่นวายในชุมชน เป็นต้น
  3. การสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการประชาชน โดยเน้นเฉพาะกิจกรรมเสริมจากภารกิจหลัก ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และภาคเอกชน