สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. สภาพทั่วไป
1.1 ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดหนึ่งในชายแดนภาคใต้ โดยมีอำเภอเบตง เป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,825,673.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของพื้นที่ภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัด และประเทศใกล้เคียง ดังนี้
จังหวัดยะลา แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 56 ตำบล 365 หมู่บ้าน 55 อบต. 8 เทศบาล (1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล) และ 1 อบจ.
อำเภอ/กิ่งอำเภอ | ตำบล | หมู่บ้าน | เทศบาล | อบต. |
อำเภอเมืองยะลา | 13 | 80 | 2 | 13 |
อำเภอรามัน | 16 | 87 | 2 | 15 |
อำเภอเบตง | 4 | 27 | 1 | 4 |
อำเภอยะหา | 7 | 45 | 1 | 7 |
อำเภอบันนังสตา | 6 | 50 | 1 | 6 |
อำเภอธารโต | 4 | 36 | 1 | 4 |
อำเภอกาบัง | 2 | 17 | - | 2 |
อำเภอกรงปินัง | 4 | 23 | - | 4 |
รวม | 56 | 365 | 8 | 55 |
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเขาเนินสูงและภูเขาเตี้ยสลับซับซ้อนจะมีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยบริเวณตอนเหนือของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีความเหมาะสมในการทำนาส่วนบริเวณตอนใต้ของจังหวัดเป็นป่าเขาและเนินสูง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดยะลามีอากาศชุ่มชื้นและอบอุ่นในตอนกลางวันและอากาศเย็นสบายในตอนกลางคืนสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนกรกฎาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 22.1 องศาเซลเซียส และสูงสุดเฉลี่ย 36.7 องศาเซสเซียสปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,281.6 มิลลิเมตร ต่อปีมีฝนตกเฉลี่ย 140 วันต่อปีเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มีฝนตกชุกที่สุด
2. ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 การคมนาคม
จังหวัดยะลา ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย โดยมีเส้นทางคมนาคม เข้าสู่จังหวัด จำนวน 2 เส้นทาง คือ
จังหวัดยะลา มีถนนสายหลักที่สำคัญ ไปสู่อำเภอต่าง ๆ ได้แก่ ยะลา-เบตง ระยะทาง 140 กม. ยะลา รามัน ระยะทาง 26 กม. ยะลา-กาบัง ระยะทาง 40 กม. ยะลา-ยะหา ระยะทาง 20 กม. ยะลา-ธารโต ระยะทาง 70 กม. ยะลา-บันนังสตา ระยะทาง 38 กม. ยะลา-กิ่งอำเภอกรงปินัง ระยะทาง 18 กม.
2.2 การไฟฟ้า
สำหรับไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัดยะลา มีแหล่งที่ผลิตไฟฟ้า 2 แห่ง คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาค 4 สามารถใช้กระแสไฟฟ้าได้ทั่วทั้งจังหวัด และอีกแห่ง คือ กระแสไฟฟ้าจากเขื่อนบางลางโดยการก่อสร้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำซึ่งสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปใช้ยังจังหวัด ใกล้เคียงด้วย
2.3 การสื่อสารและโทรคมนาคม
การไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดยะลา มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 9 แห่ง โดยแยกเป็นอำเภอเมือง 3 แห่ง อำเภอธารโต 2 แห่ง อำเภอบันนังสตา ยะหา เบตง รามัน อำเภอละ 1 แห่ง
การโทรศัพท์ มีสำนักงานโทรศัพท์ เขต 3 ภาค 4 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา องค์การโทรศัพท์ มีชุมสาย 21 แห่ง 17,030 เลขหมาย และบริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) TT&T มีชุมสายโทรศัพท์ 11 แห่ง จำนวน 12,160 เลขหมาย
สถานีวิทยุ จังหวัดยะลา มีสถานีวิทยุกระจายเสียง 5 สถานี คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อำเภอเบตง สถานีวิทยุกระจายเสียงวปถ. 16 ยะลา สถานีวิทยุกระจายเสียง กวส. 7 ยะลา และสถานีวิทยุกระจายเสียงขององค์การสื่อสารมวลชน แห่งประเทศไทย (อสมท.) จังหวัดยะลา
โทรทัศน์ จังหวัดยะลา สามารถรับสัญญานโทรทัศน์ของส่วนกลางได้ทั้ง 6 สถานี คือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ไอทีวี (ITV.)
นอกจากนี้จังหวัดยะลามีสำนักงานบริการโทรคมนาคมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย 1 แห่งที่ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศการบริการวงจรเช่าภายใน ประเทศ ให้บริการระบบวิทยุมือ ฯลฯ
3 ลักษณะทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 ทรัพยากรจากดิน
พื้นที่ในเขตจังหวัดยะลาส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าและภูเขามีที่ราบลุ่มเป็นส่วนน้อยจากทรัพยากรจากดินจึงมีสวนยางเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกในพื้นที่ราบสูงได้ และมีพืชผล เช่น ทุเรียนลองกอง เงาะ ปลูกแซมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ส่วนที่ราบลุ่มก็พอจะปลูกข้าวได้บ้างแต่ไม่มาก
3.2 ทรัพยากรจากน้ำ
3.2.1 แหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นหัวใจสำคัญของจังหวัดยะลา ได้แก่ แม่น้ำปัตตานี ซึ่งไหลจากประเทศมาเลเซีย ผ่านอำเภอเบตง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเมือง ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดปัตตานี ส่วนแม่น้ำสายบุรี ได้หล่อเลี้ยงในอำเภอรามัน นอกจากนั้นยังมีคลอง และห้วยหนอง กระจัด-กระจายอยู่ทั่วไป
3.2.2 เขื่อนในจังหวัดยะลา มีอยู่ 2 แห่ง คือ
1. เขื่อนบางลาง เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สร้างกั้นแม่น้ำปัตตานี มีเนื้อประมาณ35,000 ไร่ ก่อสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ ดังนี้
2. เขื่อนกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนกั้นน้ำของกรมชลประทาน สร้างกั้นแม่น้ำปัตตานี ในบริเวณอำเภอเมืองยะลา มีเนื้อที่ประมาณ 7,500 ไร่
3.3 ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดยะลา ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ จำแนกได้ 5 ประเภท ได้แก่
เนื้อที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ของจังหวัดยะลา ที่ได้จากการแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT พ.ศ. 2541 ประมาณ 696,875 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24.66 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด
(ข้อมูลจากสำนักงานป่าไม้ ปี 2546)
3.4 ทรัพยากรธรณี
ในพื้นที่จังหวัดยะลามีแร่ธาตุที่สำคัญนำรายได้ให้แก่จังหวัดได้แก่ หินอ่อน และแร่อื่น ๆ อีกแต่ไม่มากนัก ได้แก่ แร่วุลแฟลม และควอตซ์ ส่วนการทำหินอ่อนมีการทำกัน ที่ 2 อำเภอ คือ
3.5 สิ่งแวดล้อม
จากรายงานการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดยะลา ที่บริษัท โมดัส คอนซัลแท็นส์ จำกัด ได้จัดทำตามที่จังหวัดว่าจ้างให้ทำการศึกษาเพื่อการลงทุนของจังหวัด สามารถประเมินในภาพรวมได้ว่า จังหวัดยะลา ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไป ไม่อยู่ในขั้นวิกฤต แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มของความเสื่อมโทรม ถดถอย และสภาวะมลพิษที่ปนเปื้อน ก็ยังคงต้องมีการเฝ้าระวัง มีการจัดการ และมีมาตรการในการป้องกัน เพื่อที่จะอนุรักษ์และป้องกัน หรือแก้ไขปัญหามิให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของจังหวัดยะลา เข้าสู่สภาวะวิกฤตจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
4 ลักษณะทางเศรษฐกิจ
4.1 รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในจังหวัด
จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ.2545 ของสำนักงานสถิติจังหวัดยะลา พบว่าครัวเรือนในจังหวัดมีทั้งสิ้น 59,696 ครัวเรือน เมื่อพิจารณาตามสถานะทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน พบว่าครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด คือ ประมาณเดือนละ 11,348 บาท รองลงมาได้แก่ ครัวเรือนลูกจ้างและครัวเรือนผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 12,297 บาท และ 7,367 บาท ตามลำดับ สำหรับครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่ากลุ่มอื่น คือ ประมาณเดือนละ 5,474 บาท
4.2 ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในจังหวัด
ครัวเรือในจังหวัดยะลา มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยประมาณเดือนละ 9,582 บาท ต่อครัวเรือน ในจำนวนนี้ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค 8,816 บาท หรือร้อยละ 92 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ที่เหลืออีก 766 บาท หรือร้อยละ 8 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค หากพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น โดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนตามสถานะทางเศรษฐกิจสังคม พบว่า ครัวเรือนลูกจ้างมีระดับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือนสูงที่สุด คือ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 10,613 บาท รองลงมาคือ ครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตรและครัวเรือนผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจประมาณเดือนละ 10,226 บาท และ 7,851 บาท ตามลำดับ ส่วนครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตรมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำที่สุด คือ 7,601 บาทต่อครัวเรือน โดยภาพรวมอัตราร้อยละของค่าใช้จ่ายต่อรายได้เท่ากับ 95.6
4.3 ครัวเรือนยากจนและจำนวนหนี้สิน
จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)ปี 2546 ปรากฎว่ายังมีครัวเรือนที่มีระดับรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท จำนวน 3,677 ครัวเรือน และจากจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 59,696 ครัวเรือนมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 56,566 บาท โดยกลุ่มลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ วิชาการและเสมียนพนักงานมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุดจำนวน 116,210 บาท
4.4 สภาพแรงงาน
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรระดับจังหวัด ไตรมาสที่ 3 กรกฎาคม กันยายน 2544 พบว่า มีกำลังแรงงานรวม 208,474 คน เป็นผู้มีงานทำ 206,278 คน ไม่มีงานทำ 2,196 คน คิดเป็นร้อยละ 1.05 ผู้มีงานทำทำงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 113,930 คน คิดเป็นร้อยละ 55.23 ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 92,349 คน คิดเป็นร้อยละ 44.77 ผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ทำงานขายส่งและขายปลีก รองลงมาทำงานโรงแรมและภัตตาคาร และงานการผลิตตามลำดับ และหากจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำรวจพบว่า ร้อยละ 53.64 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาและร้อยละ 14.42 เป็นผู้ไม่มีการศึกษา
4.5 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
จังหวัดยะลาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรม รองลงมาได้แก่ การพาณิชยกรรม การคมนาคมขนส่ง การบริหาร และการก่อสร้าง ตามลำดับ
4.6 การเกษตรกรรม
ราษฎรในจังหวัดยะลา ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีเนื้อที่ถือครองเพื่อการเกษตร1,550,923 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.11 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด (พื้นที่ทำการเกษตรจริง จำนวน 1,181,801 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 88.77 ของพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร)
4.7 การเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดยะลา ได้แก่
1. การทำสวนยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจและมีทั่วพื้นที่ในจังหวัดยะลา โดยทำรายได้ให้จังหวัดหลายพันล้านต่อปี โดยมีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 1,043,174 ไร่ ให้ผลผลิต 189,916 ตัน
2. การทำสวนไม้ผล เช่น ทุเรียน ส้มโชกุน และลองกอง โดยเฉพาะลองกองนิยมปลูกกันมากในอำเภอธารโต เพราะพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง และสามารถทำรายได้เป็นอย่างดี โดยมีพื้นที่เพาะปลูก ดังนี้
3. การทำนา เนื้อที่เพาะปลูก 68,899 ไร่ มากที่สุดที่อำเภอรามัน 37,627 ไร่ รองลงมา ได้แก่
4.8 การปศุสัตว์
ผลผลิตทางด้านปศุสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ สุกรขุน โคนม แพะ แกะ เป็ดเทศ และนกกระทา มีมูลค่า 739,635,618 บาท (ข้อมูลจากสำนักงานปศุสัตว์ ประจำเดือนธันวาคม 2545)
4.9 การประมง
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล แต่ก็มีทรัพยากรด้านการประมงน้ำจืดเพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด และจำหน่ายไปยัง จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งผลผลิตการประมงจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเพาะเลี้ยง มีผลผลิตจำนวน 196.76 ตัน และผลผลิตตามธรรมชาติ จำนวน 177.18 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14,986 ล้านบาท
(ข้อมูลจากสำนักงานประมง ปี 2545)
4.10 การอุตสาหกรรม
การประกอบกิจการโรงงานในจังหวัดยะลา (ข้อมูลปี 2546ป มีจำนวน 348 โรงงาน เงินทุนรวม 5,193,502,070 ล้านบาท แรงงานทั้งหมด 6,889 คน ส่วนใหญ่เป็นการประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราการเกษตรและก่อสร้างโดยมีแหล่งที่ตั้งโรงงานอยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลาอำเภอรามันและอำเภอเบตงมากตามลำดับ
การอุตสาหกรรมในจังหวัดยะลา มีหลายอย่าง จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมได้ ดังนี้
4.11 การพาณิชย์
ผู้จดทะเบียนประกอบธุรกิจการค้า จำแนกตามประเภทการจดทะเบียน ดังนี้
4.12 การท่องเที่ยว
จังหวัดยะลา มีกิจกรรมหลายอย่างในพื้นที่ เช่น การจัดงานสมโภชหลักเมือง งานประเพณีฟื้นฟูของดีเมืองยะลา งานเทศกาลการแข่งขันนกเขาชวา ชนะเลิศกลุ่มประเทศอาเซียน
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดยะลา ที่สำคัญ มีดังนี้
5. ลักษณะทางสังคม
5.1 ประชากร
1. ประชากรทั้งหมด 466,885 คน เพศชาย 233,235 คน เพศหญิง 233,620 คน
2. ประชากรจังหวัดยะลา แยกตามอำเภอได้ ดังนี้
(ที่มา : ศูนย์ประมวลผลข้อมูลจังหวัดยะลา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2546)
5.2 การศึกษา
สถาบันการศึกษาในจังหวัดยะลา ที่อยู่ในสังกัดต่าง ๆ แบ่งได้ ดังนี้
(ข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดยะลา)
5.3 การศาสนาและวัฒนธรรม
การศาสนา
1. จำนวนสถาบันทางศาสนา
(ข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยะลา ณ เดือนธันวาคม 2546)
2. การนับถือศาสนาของประชากร
ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่น
5.4 การสาธารณสุข
จังหวัดยะลา มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
สถานบริการของรัฐ
สถานบริการของเอกชน
6. การรักษาความสงบเรียบร้อย
จากการสำรวจข้อมูล จปฐ.ประจำปี 2546 จากจำนวนที่สำรวจทั้งหมด 48,574 ครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนจำนวน 801 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1:6 ที่ไม่ผ่าน เกณฑ์ครัว เรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (หมายถึงมีคนถูกลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หลอกลวงหรืออาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน) และจาก รายงานสถิติคดีอาญากรรมของตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ในรอบปี พ.ศ.2545 มีคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ คดีประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกายและเพศ และคดีประทุษร้าย ต่อทรัพย์เกิดขึ้น 607 ราย จับได้ 230 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.89 ขณะที่จังหวัดยะลามีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/กิ่งอำเภอ และสถานีตำรวจภูธรตำบล จำนวน 17 แห่ง มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวม 1,545 นาย โดยมีผู้ปฏิบัติงานตามกรอบอัตรากำลัง จำนวน 1,444 นาย
7. ลักษณะทางด้านการเมืองและการบริหาร
7.1 การเมือง
จังหวัดยะลา แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 56 ตำบล 365 หมู่บ้าน จัดการปกครองท้องถิ่นเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล และ 55 องค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 3 คน และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 1 คน