ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ โดยคำนึงว่าภารกิจที่จะดาเนินการตามอำนาจหน้าที่นั้น ควรสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารของผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่
1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกทางน้า มาตรา 17(13)
- การสร้างและบารุงรักษาทางบกและทางน้าที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17(16)
- การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร มาตรา 17(21)
- การสาธารณูปการ มาตรา 45(6) ประกอบ มาตรา 31 (3)
- การจัดให้มีและบำรุงทางนํ้าและทางบก มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(5)
- การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้า มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(9)
- การจัดให้นํ้าสะอาดหรือการประปา มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(11)
- การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(11)
- การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟูาหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(12)
1.2 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การจัดการศึกษา มาตรา 17(6)
- การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 17(19)
- การป้องกันโรค การบาบัดโรค และการจัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(4)
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส
- การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(7)
- การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ มาตรา45 (6) ประกอบมาตรา 31(10)
- การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน มาตรา 45 (6) ประกอบมาตรา 31(13)
- การจัดให้มีและบำรุงสถานที่สาหรับการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(14)
- การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(15)
1.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 17 (7)
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 17 (22)
- การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด มาตรา 17 (23)
- การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตสภาตาบล มาตรา 45(6) ประกอบมาตรา 31(1)
1.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การจัดทาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 45 (2) และมาตรา 17(1)
- การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง มาตรา 17(17)
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว มาตรา 17(4)
- การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทากิจการไม่ว่าจะดาเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ มาตรา 17 (15)
1.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การคุ้มครอง ดูแลและบารุงรักษาปุาไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตรา 45(7) และมาตรา 17(5)
- การจัดตั้งและดูแลระบบบาบัดน้าเสียรวม มาตรา 17 (10)
- การกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม มาตรา 17 (11)
- การกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 45 (6) ประกอบมาตรา 31(8)
- การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)
1.6 ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การจัดการศึกษา มาตรา 17 (6)
- บารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 45(7 ทวิ)
- การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17(18)
- การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ มาตรา 17(20)
- การศึกษา การทานุบารุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม มาตรา 45 (6) ประกอบ มาตรา 31(2)
1.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
- สนับสนุนสภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นมาตรา 45 (3) และมาตรา 17(2)
- สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 17(25)
- ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 45(4) และมาตรา 17(3)
- การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตาบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 45(5) และมาตรา 17(4)
- การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17(26)
- การดาเนินการการเลือกตั้ง
- การรักษาความสะอาด และความปลอดภัยสถานที่ราชการ
นับตั้งแต่ปี 2540 อบจ. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบอำนาจหน้าที่ไปจากเดิมโดยจะมีหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ซึ่งเน้นการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับต่ำกว่าภายในจังหวัด
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไว้ดังนี้
1. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
2. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
3. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
4. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
5. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
6. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะในเขตสภาตำบล
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ อบจ. จัดทำตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
9. จัดทำกิจการอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. เช่น พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ อบจ. อาจจัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือ อบจ. อื่นนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากองค์กรนั้นๆ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มอบให้ อบจ. ปฏิบัติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
อำนาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่าย นิติบัญญัติ โดยการอนุมัติข้อบัญญัติต่างๆ เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะดำเนินการ
ภารกิจหลัก ตามแผนนี้หมายถึง ภารกิจที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 รวมทั้งภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิบัติ และได้วิเคราะห์ภารกิจตามเทคนิค Swot Analysis แล้ว มีสถานภาพการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก สมควรสนับสนุนและขยายการพัฒนาในลาดับความสาคัญแรก โดยกาหนดภารกิจหลัก ดังนี้
- การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างทางสาธารณะ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การก่อสร้างและปรับปรุงทางระบายน้า การจัดให้มีและบารุงการไฟฟ้า การจัดระบบการประปาหมู่บ้าน และประปาขนาดใหญ่
- การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่การท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเน้นในเรื่องการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว และการบริหารจัดการที่ดี
- การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นความร่วมมือของท้องถิ่นในการจัดระบบกาจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล การบาบัดน้าเสีย การพัฒนาสวนสาธารณะ และภูมิทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งการสารวจ ศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชน โดยเน้นหนักให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้หลักศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมที่มีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม
- การพัฒนาการเมืองและการบริหาร โดยเน้นหนักด้านการจัดโครงสร้างส่วนราชการ เพื่อรองรับภารกิจตามอานาจหน้าที่ รวมทั้งภารกิจ งบประมาณและบุคลากรที่จะได้รับการถ่ายโอนจากรัฐบาลตามแผนปฏิบัติการกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกาหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิบัติ การพัฒนาระบบราชการไปสู่ธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การพัฒนาประชาชนให้ตระหนักในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงการมีส่วนรวมรับรู้และร่วมเสนอแนะ ตัดสินใจ
- การศึกษานอกระบบการศึกษาทางเลือก โดยเน้นเรื่องการจัดให้มีห้องสมุดประชาชนการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ และภารกิจด้านการศึกษาอบรม ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภารกิจรอง ตามแผนนี้ หมายถึง ภารกิจที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความสาคัญเป็นลำดับรอง รวมทั้งภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการกาหนด ขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกาหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถเลือกทาได้โดยอิสระ โดยกาหนดภารกิจรองด้านต่าง ๆ ดังนี้
- การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและรายได้โดยเน้นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการรวมกลุ่มอาชีพขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยเน้นหนักด้านการสร้างระบบปูองกันภัยที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจาทุกปี หรือเกิดบ่อย เช่น อุทกภัย วาตภัย ปัญหาความขัดแย้ง และการก่อเหตุวุ่นวายในชุมชน เป็นต้น
- การสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการประชาชน โดยเน้นเฉพาะกิจกรรมเสริมจากภารกิจหลัก ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และภาคเอกชน